วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน

เทคนิคการนาเข้าสู่บทเรียน
                                                                                                  อาจารย์ ดร. ปราณภา โหมดหิรัญ
              การนาเข้าสู่บทเรียน (introduction, attention getter, anticipatory set, set induction) คือ การจัดเตรียมสภาพผู้เรียนให้พร้อมรับข้อมูลใหม่ก่อนที่จะนานักเรียนเข้าสู่เนื้อหาที่จะสอน ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ โดยอาจแจ้งผู้เรียนว่าจะเรียนเรื่องใด อะไรคือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนแล้วคาดหวังให้เกิดผลอย่างไรกับผู้เรียน พร้อมทั้งพยายามใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ เช่น เรื่องเล่า คาถาม การแสดง การสาธิต คลิปวิดีโอ เป็นต้น ที่จะจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความปรารถนาจะเรียนรู้ มีการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง หรือมีการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
             การนาเข้าสู่บทเรียนมีความสาคัญต่อการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากมนุษย์เราส่วนใหญ่จะเรียนหรือทางานอย่างทุ่มเทมากขึ้น ถ้าสิ่งที่เรียนหรืองานที่ทานั้นเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับความรู้และความสนใจของตนเอง (Renninger, Hidi, & Krapp, 1992; Cruckshank, Jenkins, & Metcalf, 2006) ความสนใจมีผลต่อการเรียนรู้ เพราะเป็นสิ่งกระตุ้นเครือข่ายการเชื่อมโยงอารมณ์ และการรับรู้ส่วนบุคคลของมนุษย์ การเชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่จึงช่วยทาให้เกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจนและคงทน (Feden, 1994; Lock & Prigge, 2002)
            การให้เวลากับกิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้สอนจะเห็นเหมาะสม ในชั่วโมงเรียนทั่วๆ ไป ผู้สอนอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีกับกิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน แต่ในบางกรณี เช่น กรณีที่ขึ้นหน่วยการเรียนรู้ใหม่ และผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมก่อนขึ้นบทเรียนใหม่ จึงต้องใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ กรณีเช่นนี้ อาจมีผู้สอนที่ใช้เวลาทั้งชั่วโมงกับกิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
           
            เทคนิคการนาเข้าสู่บทเรียน
การนาเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนอาจเลือกเทคนิคต่างๆ ดังนี้
            1. เล่าเรื่อง ตั้งคาถาม หรือแสดงคลิปเหตุการณ์ ที่น่าสนใจ เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้เรื่องที่จะสอน
            2. พูดทบทวนความรู้เดิม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ หากทบทวนความรู้เดิมด้วยการตั้งคาถาม จะเป็นการหยั่งระดับความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนทา การสอน
           3. แจ้งผู้เรียนถึงจุดประสงค์การเรียนรู้
           4. บอกผู้เรียนถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และประโยชน์ในการนาไปใช้ในชีวิตจริง
           5. ให้ข้อมูลที่ผู้เรียนจาเป็นต้องรู้ก่อนที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ

                                                                                      คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ตารางวิเคราะห์เนื้อหา สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

สาระที่ 2 การออกแบบและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
มาตรฐาน ง 2.1 เข้าใจเทคโนโลยีและกระบวนการเทคโนโลยี ออกแบบและสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ เลือกใช้เทคโนโลยีในทางสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีส่วนร่วมในการจัดการเทคโนโลยีที่ยั่งยืน
ตัวชี้วัด
1. อธิบายกระบวนการเทคโนโลยี
2. สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๓ มิติหรือภาพฉาย เพื่อนำไปสู่ การสร้างต้นแบบของสิ่งของเครื่องใช้หรือ ถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผลเพื่อนำเสนอวิธีการ
3. มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ในงานที่ผลิตเอง
4. เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมีการจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

สาระการเรียนรู้แกนกลาง
· กระบวนการเทคโนโลยีเป็นขั้นตอน การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์  ประกอบด้วย  กำหนดปัญหาหรือความต้องการ   รวบรวมข้อมูล  เลือกวิธีการ  ออกแบบและปฏิบัติการ  ทดสอบ  ปรับปรุงแก้ไข  และประเมินผล
·  การสร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการตามกระบวนการเทคโนโลยี จะทำให้ผู้เรียนทำงานอย่างเป็นระบบ  สามารถย้อนกลับมาแก้ไขได้ง่าย
· ภาพฉาย เป็นภาพแสดงรายละเอียดของชิ้นงาน  ประกอบด้วยภาพด้านหน้า ด้านข้าง ด้านบน แสดงขนาดและหน่วยวัด เพื่อนำไปสร้างชิ้นงาน
· ความคิดสร้างสรรค์มี ๔ ลักษณะ  ประกอบด้วยความคิดริเริ่ม  ความคล่อง ในการคิด ความยืดหยุ่นในการคิดและความคิดละเอียดลออ
· การเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ โดย การเลือกใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับชีวิต  สังคม  สิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีพลังงานทดแทน
· การลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีสะอาด


ตารางโครงสร้างเนื้อหา
ตัวชี้วัด
1.       อธิบายกระบวนการเทคโนโลยี
วัตถุประสงค์
เชิงพฤติกรรม
เนื้อหาวิชา
กิจกรรม
การเรียนรู้
สื่อการเรียน
การสอน
วิธีวัดและ
ประเมินผล
จำนวนชั่วโมง
1.ผู้เรียนบอกความหมายของกระบวนการเทคโนโลยีได้
2.ผู้เรียนบอกขั้นตอนของกระบวนการเทคโนโลยีได้
3.ผู้เรียนยกตัวอย่างกระบวนการเทคโนโลยีในแต่ละขั้นตอนได้
กระบวนการเทคโนโลยีเป็นขั้นตอน การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์  ประกอบด้วย  กำหนดปัญหาหรือความต้องการ   รวบรวมข้อมูล  เลือกวิธีการ  ออกแบบและปฏิบัติการ  ทดสอบ  ปรับปรุงแก้ไข  และประเมินผล
-ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มแล้วศึกษาขั้นตอนกระบวนการเทคโนโลยีทั้ง 7 ขั้นตอนผ่านทางแท็บเล็ตหรือคอมพิวเตอร์
-นักเรียนทำผังความคิดโดยต้องประกอบด้วยความหมาย ขั้นตอน และตัวอย่างแต่ละขั้นตอน
-นักเรียนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน
-ครูและนักเรียนสรุปความรู้กระบวนการเทคโนโลยี
-นักเรียนเขียนสรุป ความหมาย ขั้นตอน และตัวอย่างแต่ละขั้นตอนใส่กระดาษเป็นรายกลุ่ม
- คอมพิวเตอร์
- แท็บเล็ต
ประเมินผลจากงานเขียนสรุปของนักเรียน
2 ชั่วโมง

ตารางโครงสร้างเนื้อหา
ตัวชี้วัด
1.       อธิบายกระบวนการเทคโนโลยี
2.       สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๓ มิติหรือภาพฉาย เพื่อนำไปสู่ การสร้างต้นแบบของสิ่งของเครื่องใช้หรือ ถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผลเพื่อนำเสนอวิธีการ
วัตถุประสงค์
เชิงพฤติกรรม
เนื้อหาวิชา
กิจกรรม
การเรียนรู้
สื่อการเรียน
การสอน
วิธีวัดและ
ประเมินผล
จำนวนชั่วโมง
1.ผู้เรียนวาดภาพ 3 มิติได้
2.ผู้เรียนใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพ 3มิติได้
3.ผู้เรียนสร้างแบบจำลองความคิดได้



-ภาพ 3 มิติ คือ ภาพที่มีการแสดงรูปทรง ความกวาง ความยาว ความสูง และความลึก มีลักษณะภาพแสดงปริมาตรของสิ่งที่อยู่ในภาพนั้นๆ
-โปรแกรม Sketchup เป็นโปรแกรมออกแบบภาพ 3 มิติ
- DroidDia prime เป็นแอพพลิเคชั้นสำหรับการสร้างแบบจำลองความคิด
-ครูสาธิตการวาดภาพ 3 มิติ โดยใช้โต๊ะเขียนแบบ
-ครูสอนการใช้งานโปรแกรม  Sketchup ในการวาดภาพ 3 มิติ
-นักเรียนออกแบบสิ่งประดิษฐ์
-นักเรียนวาดภาพ 3 มิติ ของสิ่งประดิษฐ์
- ครูสอนนักเรียนใช้แอพลิเคชั่น DroidDia prime ในการสร้างแบบจำลองความคิด
- คอมพิวเตอร์
- โต๊ะเขียนแบบ
- แท็บเล็ต
- ประเมินผลจากภาพ 3 มิติ
- ประเมินจากแบบจำลองความคิด
8 ชั่วโมง


ตารางโครงสร้างเนื้อหา
ตัวชี้วัด
1.       อธิบายกระบวนการเทคโนโลยี
2.       สร้างสิ่งของเครื่องใช้หรือวิธีการ ตามกระบวนการเทคโนโลยีอย่างปลอดภัย ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง ๓ มิติหรือภาพฉาย เพื่อนำไปสู่ การสร้างต้นแบบของสิ่งของเครื่องใช้หรือ ถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและการรายงานผลเพื่อนำเสนอวิธีการ
วัตถุประสงค์
เชิงพฤติกรรม
เนื้อหาวิชา
กิจกรรม
การเรียนรู้
สื่อการเรียน
การสอน
วิธีวัดและ
ประเมินผล
จำนวนชั่วโมง
1.ผู้เรียนแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการเทคโนโลยีได้
2.ผู้เรียนใช้เครื่องมือช่างได้อย่างปลอดภัย


กระบวนการเทคโนโลยีเป็นขั้นตอน การแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์  ประกอบด้วย  กำหนดปัญหาหรือความต้องการ   รวบรวมข้อมูล  เลือกวิธีการ  ออกแบบและปฏิบัติการ  ทดสอบ  ปรับปรุงแก้ไข  และประเมินผล
-ให้นักเรียนใช้ขั้นตอนทั้ง 7 ในกระบวนการเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการเพื่อมาแก้ปัญหาที่ตนประสบ
-ครูสอนนักเรียนเรื่องหลักความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ
-ให้นักเรียนเขียนการทำงานของตนเองในแต่ละขั้นตอนเป็นรายงาน

- คอมพิวเตอร์
- เครื่องมือช่าง
-ประเมิลผลจากการสังเกตการใช้เครื่องมือ
-ประเมินจากรายงาน
-ประเมินจากสิ่งประดิษฐ์หรือวิธีการ
10 ชั่วโมง



คำอธิบายรายวิชา ง 22102 การออกแบบและเทคโนโลยี

คำอธิบายรายวิชา ง 22102 การออกแบบและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 เวลา 20 ชั่วโมง ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และอธิบายหลักการและกระบวนการเทคโนโลยีได้ สร้างสิ่งของเครื่องใช้โดยการใช้กระบวนการเทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัย หรือใช้ความรู้ด้านกลไก ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ ออกแบบโดยถ่ายทอดความคิดเป็นภาพร่าง 3 มิติ หรือภาพฉาย เพื่อนำไปสู่การสร้างต้นแบบของสิ่งของเครื่องใช้ หรือถ่ายทอดความคิดของวิธีการเป็นแบบจำลองความคิดและ การรายงานผล เพื่อนำเสนอวิธีการ มีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการในงานที่ผลิตเอง เลือกใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ต่อชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อม และมี การจัดการเทคโนโลยีด้วยการลดการใช้ทรัพยากรหรือเลือกใช้เทคโนโลยีที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รหัสตัวชี้วัด ง 2.1 ม.2/1, ม.2/2, ม.2/3, ม.2/4 รวมทั้งสิ้น 4 ตัวชี้วัด

แผนการสอน เทคโนโลยีสารสนเทศ ม.4

แผนการจัดการเรียนรู้ระยะยาว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 วิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ม.4 ระยะเวลา 13 คาบ ครูผู้สอน ครูเศรษฐบุตร ยอดสะเทิน สาระที่ 3 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มาตรฐาน ง 3.1 เข้าใจ เห็นคุณค่า และใช้กระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลการเรียนรู้ การสื่อสาร การแก้ปัญหา การทำงาน และอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล มีคุณธรรม คาบ ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้แกนกลาง หน่วยการเรียนรู้ เนื้อหาสาระ วิธีสอน/กระบวนการเรียนรู้ งานที่มอบหมาย เวลา (นาที) 1 ม.4-6/2 อธิบายองค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ ๕ หน่วยได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก - หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณและตรรกะ - การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ จะผ่านระบบทางขนส่งข้อมูลหรือบัส “ต้นกำเนิดคอมพิวเตอร์” - ความหมายของคอมพิวเตอร์ คือ "เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล ใช้สำหรับแก้ปัญหาต่างๆ ที่ง่ายและซับซ้อนโดยวิธีทางคณิตศาสตร์" - ประวัติของคอมพิวเตอร์ - วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ (ยุคก่อนเครื่องจักรกล, ยุคเครื่องจักรกล,ยุคเครื่องจักรกลระบบอิเล็กทรอนิกส์,ยุคเครื่องอิเล็กทรอนิกส์) - ประเภทของคอมพิวเตอร์ 1) ไมโครคอมพิวเตอร์ 2) สถานีงานวิศวกรรม 3) มินิคอมพิวเตอร์ 4) เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 5) ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง - การบรรยาย - กระบวนการทำงานกลุ่ม แผนที่ความคิด “วิวัฒนาการคอมพิวเตอร์” 100 2 ม.4-6/2 อธิบายองค์ประกอบและหลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ การทำงานของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยหน่วยสำคัญ ๕ หน่วยได้แก่ หน่วยรับเข้า หน่วยประมวลผลกลาง หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำรอง และหน่วยส่งออก - หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยหน่วยควบคุม และหน่วยคำนวณและตรรกะ - การรับส่งข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ จะผ่านระบบทางขนส่งข้อมูลหรือบัส “คอมพิวเตอร์กำลังทำงาน” องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ - หน่วยรับเข้า - หน่วยประมวลผลกลาง - หน่วยเก็บข้อมูล - หน่วยความจำ - หน่วยส่งออก - การบรรยาย - การสาธิต ใบงาน“องค์ประกอบคอมพิวเตอร์” 100 3 หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ - ซีพียูและการประมวลผล - หน่วยความจำและการจัดเก็บข้อมูล - ระบบบัสกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ และอุปกรร์ต่างๆ การบรรยาย การสาธิต กิจกรรมกลุ่มนำเสนอ งานนำเสนอ หัวข้อ “คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างไร” 100 4 ม.4-6/8 ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน - การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานสื่อประสม ควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และใช้ซอฟต์แวร์ ที่เหมาะสม “หาคอมพิวเตอร์ให้งาน” การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เหมาะสมกับงาน - งานเอกสาร - งานกราฟฟิก - งานออกแบบ 3 มิติ การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ใบงาน หัวข้อ “คอมพิวเตอร์เหมาะเหม็ง” 100 5 ม.4-6/4 บอกคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง ม.4-6/8 ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน - คุณลักษณะ(specification)ของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น ความเร็วและความจุของฮาร์ดดิสก์ - การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานสื่อประสม ควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และใช้ซอฟต์แวร์ ที่เหมาะสม “จัดเสปกคอมพิวเตอร์” การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ - ซีพียู - เมนบอร์ด - แรม การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ใบงาน “การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 1” 100 6 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ - ฮาร์ดดิสก์ - การ์ดแสดงผล - ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ใบงาน “การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 2” 100 7 การเลือกซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ - เคส - จอภาพ - ออปติคัลดิสก์ไดร์ฟ การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ใบงาน “การเลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3” 100 8 สัปดาห์สอบกลางภาค 9 ม.4-6/8 ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานสื่อประสม ควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และใช้ซอฟต์แวร์ ที่เหมาะสม “คอมพิวเตอร์สร้างได้” การประกอบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น - การประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ การสาธิต การทดลอง ทดลองประกอบคอมพิวเตอร์ 100 10 “คอมพิวเตอร์กับระบบปฏิบัติ การ” ระบบปฏิบัติการพื้นฐาน เป็นเครื่องมือติดต่อระหว่างอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟท์แวร์ประยุกต์ การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ติดตั้งระบบปฏิบัติ การวินโดว์ 100 11 “ซอฟท์แวร์ประยุกต์” ซอฟท์แวร์ประยุกต์ - ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์เอกสาร (Word Processing Software) - ซอฟท์แวร์ด้านการคำนวณ(Spreadsheet Software) การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ใบงาน “” 100 12 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ - ซอฟท์แวร์ด้านการนำเสนอ - ซอฟท์แวร์ด้านมัลติมีเดีย การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ใบงาน “งานนำเสนอ” 100 13 ซอฟท์แวร์ประยุกต์ - ซอฟท์แวร์ด้านการรักษาความปลอดภัย การอธิบาย การสาธิต การทดลอง ใบงาน “โพรเทกชั่น” 100 14 ม.4-6/8 ใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน การเลือกคุณลักษณะของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เหมาะสมกับงาน เช่น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานสื่อประสม ควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง และใช้ซอฟต์แวร์ ที่เหมาะสม ซอฟท์แวร์ประยุกต์” ซอฟท์แวร์ประยุกต์ - ซอฟท์แวร์เครือข่ายสังคม เป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายที่มีความรวดเร็ว การบรรยาย การสาธิต การทดลอง ใบกิจกรรม “สื่อสารออนไลน์” 100 15 สัปดาห์สอบปลายภาค