วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

เทคนิคการนำเข้าสู่บทเรียน

เทคนิคการนาเข้าสู่บทเรียน
                                                                                                  อาจารย์ ดร. ปราณภา โหมดหิรัญ
              การนาเข้าสู่บทเรียน (introduction, attention getter, anticipatory set, set induction) คือ การจัดเตรียมสภาพผู้เรียนให้พร้อมรับข้อมูลใหม่ก่อนที่จะนานักเรียนเข้าสู่เนื้อหาที่จะสอน ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์ โดยอาจแจ้งผู้เรียนว่าจะเรียนเรื่องใด อะไรคือวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เมื่อเรียนแล้วคาดหวังให้เกิดผลอย่างไรกับผู้เรียน พร้อมทั้งพยายามใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ เช่น เรื่องเล่า คาถาม การแสดง การสาธิต คลิปวิดีโอ เป็นต้น ที่จะจูงใจให้ผู้เรียนเกิดความปรารถนาจะเรียนรู้ มีการเชื่อมโยงกับชีวิตจริง หรือมีการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม
             การนาเข้าสู่บทเรียนมีความสาคัญต่อการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากมนุษย์เราส่วนใหญ่จะเรียนหรือทางานอย่างทุ่มเทมากขึ้น ถ้าสิ่งที่เรียนหรืองานที่ทานั้นเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับความรู้และความสนใจของตนเอง (Renninger, Hidi, & Krapp, 1992; Cruckshank, Jenkins, & Metcalf, 2006) ความสนใจมีผลต่อการเรียนรู้ เพราะเป็นสิ่งกระตุ้นเครือข่ายการเชื่อมโยงอารมณ์ และการรับรู้ส่วนบุคคลของมนุษย์ การเชื่อมโยงความรู้เดิมเข้ากับความรู้ใหม่จึงช่วยทาให้เกิดการเรียนรู้ที่ชัดเจนและคงทน (Feden, 1994; Lock & Prigge, 2002)
            การให้เวลากับกิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้สอนจะเห็นเหมาะสม ในชั่วโมงเรียนทั่วๆ ไป ผู้สอนอาจใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีกับกิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน แต่ในบางกรณี เช่น กรณีที่ขึ้นหน่วยการเรียนรู้ใหม่ และผู้สอนต้องการให้ผู้เรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมก่อนขึ้นบทเรียนใหม่ จึงต้องใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้เรื่องใหม่ กรณีเช่นนี้ อาจมีผู้สอนที่ใช้เวลาทั้งชั่วโมงกับกิจกรรมนาเข้าสู่บทเรียน
           
            เทคนิคการนาเข้าสู่บทเรียน
การนาเข้าสู่บทเรียน ผู้สอนอาจเลือกเทคนิคต่างๆ ดังนี้
            1. เล่าเรื่อง ตั้งคาถาม หรือแสดงคลิปเหตุการณ์ ที่น่าสนใจ เพื่อยั่วยุให้ผู้เรียนอยากเรียนรู้เรื่องที่จะสอน
            2. พูดทบทวนความรู้เดิม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ หากทบทวนความรู้เดิมด้วยการตั้งคาถาม จะเป็นการหยั่งระดับความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนทา การสอน
           3. แจ้งผู้เรียนถึงจุดประสงค์การเรียนรู้
           4. บอกผู้เรียนถึงผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และประโยชน์ในการนาไปใช้ในชีวิตจริง
           5. ให้ข้อมูลที่ผู้เรียนจาเป็นต้องรู้ก่อนที่จะเรียนเกี่ยวกับหัวข้อนั้นๆ

                                                                                      คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น